Print this page

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

     องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

“พัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างชุมชนเข็มแข็ง ส่งเสริมการเกษตรมีศักยภาพ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาอย่างสมดุล ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
  2. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  3. การพัฒนาด้านสังคม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต 4.การพัฒนาด้านอนุรักษท์รัพยากรธรรมชาติและบริหารจัดการส่ิงแวดล้อม
  4. การพัฒนาด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถ่ิน 6. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กรและการบริการประชาชน

 

เป้าหมาย (Goal)

     เป้าหมาย (Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

  1. ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานเส้นทางการคมนาคมที่สะดวก สาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
  2. ประชาชนมีแหล่งน้าเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรที่เพียงพอ
  3. มีความเข็มแข็งในชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น
  4. ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้เพียงพอ สามารถพ่ึงตนเองได้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสมัยใหม่ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดมีการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิตของท้องถ่ิน ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต
  6. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสได้รับสวัสดิการสังคมอย่างสมดุลเท่าเทียม
  7. ประชาชนมีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพเบ้ืองต้นและปูองกันโรคติดต่ออย่างเป็นระบบ
  8. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนสงบสุข ปราศจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
  9. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเกิดความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ไม่เป็นมลพิษ ประชาชนเกิดองค์ความรู้และตระหนักในการดูแลรักษา
  10. วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ สืบทอด
  11. การบริหารจัดการขององค์กร แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมีความทันสมัยและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน